วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หลักในการอธิษฐาน " ( หลวงปู่ทวด )





หลวงปู่ทวด


หลวงปู่ทวดสอนว่าให้กล่าวคำอุทิศอย่างเจาะจงลงไปเท่าที่เราจะนึกได้ จะเป็นสรรพสัตว์ทั้งหลาย หรือเจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้ากรรมนายเวร ฯลฯ

      สุดท้ายให้กล่าวคำอธิษฐานบารมีว่า "ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึงซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ในชาติปัจจุบันนี้เทอญ และขอบารมีแห่งพระคุณรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ และเทพพรหมทุกพระองค์ ได้โปรดปกป้องคุ้มครองช่วยเหลือข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าสมปรารถนา โดยสะดวกราบรื่น รวดเร็ว ฉับพลันทันที จงทุกประการเทอญ"

     นี้เป็นหลักในการอธิษฐานโดยทั่วไป ถ้าจะปรารถนาไปเกิดในยุคพระศรีอารย์ก็สามารถปรารถนาได้ และขอให้ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ฟังธรรมจากท่านด้วย อย่างนี้รับรองว่าเกิดทันแน่ และเกิดในที่ดี ๆ ด้วย อย่างน้อยก้เกิดเป็นมนุษย์ในยุคของท่าน อย่างดีก็เกิดเป็นเทวดาหรือพรหมไปเลย สบายกว่ามนุษย์เยอะ ส่วนการขอบารมีจากองค์หลวงปู่ทวด หรือครูบาอาจารย์เทพพรหมท่านอื่น ๆ ก็แค่สวดมนต์ระลึกถึงท่านท่านก็รับรู้แล้ว เพราะเบื้องบนท่านมี "ทิพยญาณ"

     ทุกพระองค์ชัดเจนยิ่งกว่าดาวเทียมซะอีก แต่ขอให้ระลึกถึงท่านด้วยความเลื่อมใสอย่างจริงใจ ไม่ใช่เดือดร้อนทีก็นึกถึงที อย่างนี้ไม่ได้เรื่องหรอก ต้องทำการบูชาด้วยการสวดมนต์และถวายอามิสบูชาเป็นประจำ สำคัญที่สุดคือ การปฏิบัติบูชา

     อย่างหลวงปู่ทวดนี่ สวดคาถาของท่าน และนั่งสมาธิถวายท่านอย่างน้อยวันละสิบนาทีทุกวัน(เอาคาถาของท่านไปใช้เป็นบทบริกรรมก็ได้) สมเด็จโตนี่สวดชินบัญชรให้ได้วันละหนึ่งจบ หรือคาถาสมเด็จ วันละสามจบ บทไหนก็ได้มีหลายบท เช่น พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธัง อรหัง พุทโธ อิติปิโส ภควา นะโมพุทธายะ หลวงพ่อ โอภาสีนี่สวดคาถาที่เรารู้จักกันดีว่า

     อิติ สุคโต อรหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปฐวีคงคา พระภุมมะเทวา ขมามิหัง ใช้ได้หลายทางและพระคาถาอีกหลาย ๆ บทที่นิยมใช้กันมาแต่โบราณกาล ก็มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เช่น มงกุฎพระพุทธเจ้า อาวุธพระพุทธเจ้า จักแก้วพระพุทธเจ้า ข่ายเพชรพระพุทธเจ้า และ บารมีสามสิบทัศ เป็นต้น

     ที่จะแนะนำให้ใช้อีกบทก็คือ "คาถานิพพานจุติ" ของท่านท้าวพญายมราชผู้เป็นใหญ่แห่งยมโลก ที่ว่า ปะโตเมตัง ประชีวินัง สุคโต จุติ จิตตะเมตะ นิพพานัง สุคโต จุติ ที่มีคนฟื้นจากความตายมาเล่าว่า ได้คาถาบทนี้มาจากท่านท้าวพญายมราช อันนี้เป็นความจริง เพราะได้ถามหลวงปู่ทวดแล้ว ไว้สวดเพื่อป้องกันภัยพิบัติได้ ถ้าดวงใครยังไม่ถึงฆาต ก็อาจแคล้วคลาดปลอดภัย รอดพ้นจากเงื้อมมือแห่งพญายมราชได้ ( หลวงปู่ทวดกล่าวถึงเรื่อง "ดวง" ว่า กรรมกำหนดดวง ดวงกำหนดคน คนกำหนดธรรมชาติ ธรรมชาติกำหนดโลก โลกกำหนดจักรวาล จักรวาลกำหนดโลกวิญญาณ โลกวิญญาณดำเนินตามกฎแห่งกรรม และรองรับดวงวิญญาณทุกดวง วนเวียนดังนี้ ไปตลอดกาลจนกว่าจะบรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นบรมสุข)

     อีกบทที่อยากแนะนำก็คือ คาถาของท่านท้าวเวสสุวัณ อิติปิโส ภควา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ มรณัง สุขัง อรหัง สุคโต นะโมพุทธายะ บทนี้ใช้กันผีกันคุณไสยกันอันตรายต่าง ๆ ได้

     สุดท้ายคือ บทพญาธรรมิกราช ที่ว่า พุทโธ ดส ภควา ธัมโม โส ภควา สังโฆ โส ภควา ธรรมิกราชา ชัมพูทีเป กลียุคเข มนุสสานัง พหุยักขะ ปิสาเจวะ ปะลายันติ ไว้สวดเพื่อป้องกันโรคระบาด ใช้เสกน้ำมนต์ให้สัตว์และคนดื่มกินเพื่อป้องกันโรค แต่ถ้าเป็นมาแล้วต้องใช้ยาสมุนไพรกับคาถาปราบโรคโดยเฉพาะ ทั้งสามบทเหมาะกับยุคนี้สมัยนี้เป็นอย่างยิ่ง และที่นับถือกันมากในวงของผู้ปฏิบัติธรรมก้คือ หลวงปู่ใหญ่ หรือ พระครูโลกเทพอุดร ที่ในตำราพระเวทของไทย และ คัมภีร์พุทธมนต์ ของ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว พระอาจารย์ในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ระบุไว้ว่า "ตำราสร้างพระภคัมบดีปิดตา หรือ ปิดทวาร และ พระประจำดวงจากไม้โพธิ์แกะนี้ เป็นของพระครูเทพผู้วิเศษ" ( โดยพระปิดตาหรือพระปิดทวารทั้งเก้านี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งการเข้านิโรธสมาบัติของพระอรหันต์ และบุคคลใดได้ทำบุญ หรืออย่างน้อยได้กระทำการบูชาพระอรหันต์ที่กำลังเข้านิโรธสมาบัติ หรือเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ จะอำนวยผลให้บังเกิดบุญและโชคลาภเป็นอย่างมาก และได้รับผลอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ อีกทั้งอำนาจแห่งการเข้านิโรธสมาบัติของพระอรหันต์ ยังผลให้เกิดนิรันตราย ความปลอดภัยอย่างสูงสุดอีกด้วย)

ซึ่งเรื่องของหลวงปู่ใหญ่ หรือพระครูเทพผู้วิเศษนี้ ตรงกับคติความเชื่อของชนชาวจีนโบราณที่นับถือกันว่ายังมีพระอรหันต์ผู้ทรงคุณวิเศษดำรงขันธ์อยู่มาแต่ครั้งพุทธกาลเป็นจำนวนมาก โดยชือคณะสิบแปดอรหันต์ หรือ "จับโป้ยหล่อหั้น" มีพระปิณโฑโล่ หรือ " พระปิณโฑลภารทวาชเถรอรหันต์" เป็นประธาน สถิตอยู่ ณ อมรโคยานทวีป ( เป็นอีกมิติหนึ่งที่ซ้อนขนาบอยู่กับโลกของเรา) พร้อมด้วยพระอรหันต์ที่เป็นศิษย์จำนวนถึงหกหมื่นรูป บางครั้งก็ไปพำนักอยู่ที่เขาคันธมาทน์ ณ ป่าหิมพานต์

พระอภิญญาหลังยุคพุทธกาล ส่วนใหญ่ก็เป็นศิษย์ของท่านทั้งนั้น เพราะท่านได้รับมอบหมายจากพระพุทธองค์ให้เจริญอิทธิบาทภาวนา ดำรงขันธ์อยู่เพือ่ดูแลค้ำจุนพระพุทธศาสนา จนกว่าจะครบห้าพันปี ( เรื่องเจริญอิทธิบาทภาวนานี้ เป็นวิสัยของผู้สำเร็จฌานสมาบัติชั้นสูงบรรลุซึงอภิญญา แม้แต่พระฤาษีที่มีฤทธิ์มาก ก็สามารถอยู่ได้หลายพันปี หรือเป็นหมื่นปี แต่ส่วนใหญ่ก็จะปล่อยไปตามธรรมชาติ) และมีพระพุทธะดำรัสตรัสพยากรณ์ไว้แล้วว่า


''พันปีแรก จะมากด้วยพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทาญาณ 

พันปีที่สอง จะมากด้วยพระอรหันต์อภิญญาหก 

พันปีที่สาม จะมากด้วยพระอรหันต์วิชชาสาม 

พันปีที่สี่ จะมากด้วยพระอรหันต์สุกขวิปัสสโก 

พันปีที่ห้า จะมากด้วยพระอนาคามี พระสกิทาคามี และพระโสดาบัน" 



ซึ่งนี่ก็ใกล้เข้าสู่ยุคแห่งพระวิชชาสาม กำลังจะสิ้นสุดยุคแห่งพระอภิญญาแล้ว และต่อไปสติปัญญาคนจะทรามลง กิเลสคนจะมากขึ้น หลงใหลในวัตุมากขึ้น แก่งแย่งกันมากขึ้น ลุ่มหลงกันมากขึ้น ก็เกิดภัยพิบัติมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งก็เริ่มปรากฏแล้ว และจะหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ) ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ก็ได้ทรงพบกับหลวงปู่ฯ และมีพระราชศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงหมอบกราบแทบบาททั้งสองของหลวงปู่ ฯ พร้อมกับทรงจุมพิตที่บาททั้งสอง และตรัสว่า


"การได้เห็นซึ่งพระคุณเจ้า ซึ่งเป็นพระอรหันต์แต่ 

ครั้งพุทธกาล ทำให้หม่อมฉันได้ระลึกถึงซึ่งพระ 

พุทธคุณเป็นอย่างยิ่ง เสียดายนักที่หม่อมฉันไม่มี 

โอกาสได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่กระนั้น 

การได้พบพระคุณเจ้า ก็ทำให้หัวใจของหม่อมฉัน 

พองโตเปี่ยมไปด้วยความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง" 


และพระองค์ยังได้ทรงดำรัสถามพระเดชพระคุณหลวงปุ่ฯ ว่า "เพราะเหตุใด พระคุณท่านจึงดำรงค์ขันธ์อยู่จนถึงปัจจุบัน" ซึ่งหลวงปู่ฯ ได้ตอบไปว่า "การที่อาตมาภาพดำรงกายสังขารอยู่จนทุกวันนี้ ก็เนื่องด้วยได้รับพระพุทธบัญชาให้อยู่ดูแลศาสนาจนกว่าจะครบห้าพันปี" นอกจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชจะได้ทรงพบกับหลวงปู่ฯ แล้ว พระองค์ยังเป็นศิษย์ของพระอุปคุตมหาเถรเจ้าอีกด้วย (พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระผู้เป็นประธานสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 กับ พระโสณะพระอุตตระ ที่เป็นพระธรรมฑูตสายสุวรรณภูมิสมัย พระเจ้าอโศก ฯ ก็เป็นศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่ และ บทยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก กับ บทพระอาการวัตตาสูตร ก็เกิดขึ้นโดยเหล่าพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทาญาณในสมัยนั้น ร่วมกันร้อยกรองขึ้นตามพุทธบัญชา เพื่อเกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์มิให้พลาดไปสู่อบายภูมิ และตกทอดมาสู่เมืองไทยครั้งสมัยทวารวดียุคสุวรรณภูมิ ใช้สวดเพื่อสืบชะตาบ้านเมือง สืบอายุ กลับชะตาร้ายให้เป็นดี แก้สรรพเคราะห์ และสมปรารถนาทั้งปวง ซึ่งนิยมสวดมากครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก)

ซึงปัจจุบันนี้ท่านพระอุปคุตก็ยังดำรงค์ขันธ์อยุ่ เพราะท่านก็เป็นศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่ด้วยเช่นกัน
ศิษย์ของหลวงปู่ฯ มีทั้งพระไทย พระจีน พระธิเบต พระพม่า พระมอญ พระลาว พระศรีลังกา พระอินเดีย ฯลฯ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดก็คือ ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ หรือ ท่านพระโพธิธรรม ปรมาจารย์แห่งลัทธิเซน ถ้าประเทศไทยในปัจจุบันก็มี

หลวงปู่มันฯ พระบูรพาจารย์แห่งสายกรรมฐาน

หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา

หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด

หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค

หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน

หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล

หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง

หลวงพ่อจรัญ ฯ วัดอัมพวัน ฯลฯ

(ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ ปัจจุบันนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ คอยช่วยหลวงปู่ฯ ดูแลศาสนาในจีนและยี่ปุ่น เหมือนพระอุปคุตที่ช่วยหลวงปู่ฯ ดูแลศาสนาในลาว เขมร พม่า และไทย ) ซึ่งลักษณะแห่งรูปขันธ์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ฯ จริง ๆ นั้น ในคัมภีร์อโศกาวทานระบุว่า...

"มีกายดุจพระปัจเจกพุทธเจ้า ผมยาวเลยบ่า ผิว 

หนังย่นชราแต่ผ่องใส เล็บมือยาว หนวดเครา 

ยาวดุจฤาษี รูปร่างสูงใหญ่ ใบหูกับหนังทั้งสอง 

หย่อนยานมาก ยามเหาะเหินประดุจพญาหงส์ 

ยามก้าวย่างดุจพญาราชสีห์ ยามเปล่งวาจา พลัง 

เสียงมีตบะอำนาจมาก แม้พระเจ้าอโศก ฯ เอง 

ยังไม่กล้าทัดทาน จีวรที่ครองก็เก่าคร่ำคร่า มีสีกรักเข้ม" 

พระในสายของหลวงปู่ ฯ จะเป็นพระอภิญญาล้วน ๆ เนื่องจากท่านเป็นผู้นำสายอภิญญาในยุค "พันปีที่สองจะมากด้วยพระอภิญญา" นั่นเอง ศิษย์ของท่านมีทั้งนอกดงในดงเรียกว่า "คณะพระโลกอุดร" แปลว่า พระเหนือโลก ถ้าเป็นพระนอกดง จะแสดงฤทธิ์มากไม่ได้ เพระจะทำให้คนติดฤทธิ์ และศิษย์ของหลวงปู่ฯ ก็มีอยู่หลายระดับ แต่ถ้าเป็นพระในดงศิษย์ของหลวงปู่ ฯ จะมีอภิญญาสูงมาก เช่น

1. หลวงปู่อิเกสาโร (หลวงปู่เดินหน) แห่งเทือกเขาตะนาวศรี

2. หลวงพ่อโพรงโพธิ์ อาจารย์ของ หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า

- หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

- หลวงปุ่แสง วัดมณีชลขันธ์

- หลวงปู่เชย วัดราษฎร์บำรุง

3. หลวงพ่อพระอุปคุต อาจารย์ของ หลวงปู่คำคะนึง

วัดถ้ำคุหาสวรรค์ อ. ดขงเจียม จ.อุบล ฯ

- หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม อุดรธานี

- ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม จ. ลำพูน

- หลวงปู่บุดดา ถาวโร

- หลวงพ่ออุตตมะ ท่านพ่อลี วัดอโศการาม

4. หลวงปุ่เเจ้งฌานแห่งเขาใหญ่ ดงพยาเย็น

5. หลวงพ่อดำในดง ฯลฯ


     คาถาที่ถ่ายทอดมีมากมายหลายบท (เพราะคาถาเป็นคู่มือในการฝึกอภิญญาเบื้องต้น เป็นอุบายในการฝึกสมาธินั่นเอง) แต่ที่นิยมกันมากก็คือ "บทมงกุฎพระพุทธเจ้า" ที่ใช้บทนี้เพราะท่านมาสั่งอาตมาเอง และเคยพาอาตมาไปดูแผ่นศิลาทองคำจารึกพระคาถาบทนี้ ที่ทางเข้าพระทุสสเจดีย์บนพรหมโลกชั้นอกนิฏปัยจสุทธาวาส ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มาก บทที่ท่านพระอาจารย์ชาญนรงค์ ศิริสมบัติ หรือ ท่านอภิชิโตภิกขุ ศิษย์ของหลวงตาดำในดงรูปหนึ่งนำมาถ่ายทอดเพื่อใช้รักษาโรคก็คือ สมุหะคัมภีรัง อะโจระภะยัง อะเสสะโต โส ภควา พุทโธ หยุด ธัมโม หยุด สังโฆ หยุด โรคภัยทั้งหลายจงหยุด หยุดด้วย

นะโมพุทธายะ

หรือหากใครอยากพบท่าน ก็สวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกบ่อย ๆ แล้วอธิษฐานเอา หรือจะสวดบทพระอาการวัตตาสูตก็ดี มีอานุภาพและอานิสงค์สูงมาก เวลาสวดถ้าสมาธิดี ๆ จะเห็นรังสีทองคำสว่างจ้าพุ่งลงมาจากเบืองบน เป็นกระแสบารมีของพระรัตนตรัยและของเบื้องบนตั้งแต่พระนิพพานและพรหมโลกชั้นสุทธาวาสทั้งห้า ลงมาคลุมทั่วบริเวณที่เราสวดอยู่

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ



ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก 
มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง 
ครั้นมาปฏิบัติทางจิต จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย

ฉะนั้น ต้องให้เข้าใจว่า ความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว
ต้องเก็บใส่ตู้ ใส่หีบไว้เสียก่อน ต้องมาหัดผู้รู้คือจิตนี้ 
หัดสติให้เป็นมหาสติ หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา 
กำหนดรู้เท่ามหาสมบัติมหานิยม 
อันเอาออกไปตั้งไว้ว่าอันนั้นเป็นอันนั้น
เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศกลางหาว 
ดาวนักขัตฤกษ์ สารพัดสิ่งทั้งปวง
อันเจ้าสังขารคืออาการจิต 
หากออกไปตั้งไว้ บัญญัติไว้ว่า เขาเป็นนั้นเป็นนี้ 
จนรู้เท่าแล้วเรียกว่า กำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย 
เมื่อทำให้มาก เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้ว 
จิตก็จะรวมลงได้ เมื่อกำหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค
หากมรรคพอแล้ว นิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง
หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง

เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่ 
ในกาย วาจา จิตนี้ ที่เรียกว่า อกาลิโก
ของมีอยู่ทุกเมื่อ โอปนยิโก
เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปจฺจตฺตํ จึงจะรู้เฉพาะตัว 
คือมาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะ เปื่อยเน่า แตกพังลงไป
ตามสภาพความเจริญของภูตธาตุ ปุพฺเพสุ ภูเตสุ ธมฺเมสุ 
ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อน สว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน
ผู้มาปฏิบัติพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบดังนี้

อันบุคคลผู้ทำนาก็ต้องทำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุยโคลนตากแดดกรำฝนจึงจะเห็นข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสุกมาได้ และได้บริโภคอิ่มสบาย ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ทั้งสิ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น 
เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอยู่ในกาย วาจา จิต ของทุกคน

____________________________________________
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
(หมายเหตุ : เป็นธรรมเทศนาในปัจฉิมสมัยของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระซึ่งพระภิกษุทองคำ ญาโณภาโส และพระภิกษุวัน อุตฺตโม จดบันทึกไว้)

(ที่มา : ชีวประวัติ-ธรรมเทศนา-บทประพันธ์-ธรรมบรรยาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ, พิมพ์ครั้งที่ ๓, ๒๕๕๓, โดยคณะผู้ศรัทธา โรงพิมพ์นพรัตน์ กทม., หน้า ๖๐-๖๒)

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

คาถาชินบัญชร (Chinnabanchorn)





Chinnabanchorn

NAMOTASA PAKAVATO ARAHATO SAMMA SAMPHUTASA ( #3 )


1. CHAYASANAGATA BUDDHA CHETTAVA MARANG SAVAHANANG
JATUSAJJASAPANG RASANG YE PEVINGSU NARASAPA.

2. TANHANKARATHAYO PUTTHA ATTHAVISATINAYAKA
SABBE PATTHITA MAIHANG MATTHAKE TE MUNISSRA.

3. SISE PATITTHITO MAIHANG PUDDHO DHAMMO THAVIROJANE
SANGKO PATITHIYO MAIHANG URE SAPPAKUNAGARO.

4. HADAYE ME ANURUTTHO SARIBUDTO JA TAKKHINE 
KONTHUNYO BITTHIPAKASMING MOKKANRANO JA VAMAKE.

5. TAKKINESAVANE MAIHANG ASUNG ANANTHARAKHULO
KASSAPO JA MAHANAMO UPHASUNG VAMASUTAKE.

6. KESATO BITTHIPHAKAS MING SURIYO VA PAPANGARO
NISINNO SIRISAMBANNO SOPHITO MUNPIBUNGAVO.

7. KUMARAKASSABHO THERO MAHESI JITTAVATHAGO
SO MAIHANG VATHANE NICHJANG BATITHASI KUNAKARO.

8. BUNNO ANGULIMALI JA UPALI NANTHASIVALI
THERA BANJA IME CHATA NALATE TILAKA MAMA.

9. SESASITI MAHATHERA VICHITA CHINASAVAKA
ATESITI MAHATHERA CHITAVANTO CHINORASA.

10. RATANANG PURATO ASI TAKKINE METTASUTTAKANG
TACHUKKANG PAICHATO ASI VAME ANGULIMALAKANG.

11. KHANTHAMORA PARITTNAJA ATANATIYASUTTAKANG
AKASE CHATHANANG ASI SESA PAKARASANTHITA.

12. CHINA NANAVARASANGYUTTA SATTAPPAKARALANGKATA
VATAPIDTHATHISANCHATA PHAHIRATCHADTUPATTHAVA.

13. ASESA VINAYUNG YANTU ANANTACHINATECHASA
VASATO ME SAKITJENA SATHA SAMPHUTTHAPANCHARE.

14. CHINAPANCHARAMADCHAMHU VIHARANTANG MAHITHARE
SATHA PALENTU MANG SAPPE TE MAHAPURISASAPHA.

15. ITJEAMANTO SUKUTTO SURAKKHO
CHINANUPAVENA CHITUPADTHAVO
THAMMANUPHAVENA CHITARISANGKO
SANGKANUPAVENA CHITANTARAYO
SATTHAMMANUPAVAPALITO JARAMI CHINAPANCHALETI.

พระคาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา 
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง 
ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ 
ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด

.................................................................................................

➧ เริ่มสวด นะโม 3 จบ 

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ



➧ นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง 
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา 
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ 
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ 


➧เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

1.ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

2.ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

6. เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว

7. กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

8. ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ          อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา        นะลาเต ติละกา มะมะ.

9. เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา            ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ           อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ            ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ         วาเม อังคุลิมาละกัง

11, ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ           เสสา ปาการะสัณฐิตา

12. ชินา นานาวะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา          พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา.

15. อิจเจวะมันโต            สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ           ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ          ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ          ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.


คำแปล

    1. พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
      ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
      อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
    2. มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
    3. ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
      องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
      พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
      พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
    4. พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
      พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
    5. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
      พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
    6. มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
      อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
    7. พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
      มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
    8. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
      พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
    9. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
      เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
      รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
    10. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
      พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
    11. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
      เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
    12. อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
      ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
      สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
    13. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
      เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
      แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
      อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
      เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
    14. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
      จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
      ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
    15. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
      จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
      ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
      แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

      ที่มา : 
      http://www.84000.org/